วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ยุโรป

ประวัติศาสตร์ยุโรป

ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุโรป
Abraham Ortelius Map of Europe.jpg
ยุโรปวาดโดยนักเขียนแผนที่ชาวอันท์เวิร์พอับราฮัม ออร์เทเลียส
ในปี ค.ศ. 1595
360 BC เพลโตโจมตีระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ในหนังสืออุตมรัฐ
323 BC พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรมาซิโดเนียแตกแยกเป็นรัฐย่อย
44 BC จูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร และการสิ้นสุดของสาธารณรัฐโรมัน
27 BC การก่อตั้งจักรวรรดิโรมันภายใต้จักรพรรดิเอากุสตุส
AD 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 สถาปนากรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงเป็นโรมใหม่
395 ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็นจักรวรรดิตะวันออกและตะวันตกอย่างถาวร
527 จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์
800 ชาร์เลอมาญราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
1054 มหาศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตกเริ่มต้นขึ้น
1066 วิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีพิชิตอังกฤษ
1095 สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ระดมผู้เข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 1
1340 เกิดกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ คร่าชีวิตประชาการหนึ่งในสามของยุโรป
1337 - 1453 สงครามร้อยปี
1453 เสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลแก่จักรวรรดิออตโตมัน
1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสขึ้นฝั่งบนโลกใหม่
1498 เลโอนาร์โด ดา วินชีเขียนภาพ พระกระยาหารมื้อสุดท้าย ในมิลานในช่วงแห่งความรุ่งเรืองของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
1517 มาร์ติน ลูเทอร์ติดประกาศเรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนาที่ประตูโบสถ์ในวิทเทนแบร์ก
1648 สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียยุติสงครามสามสิบปี
1789 การปฏิวัติฝรั่งเศส
1815 การลงนามในสนธิสัญญาเวียนนาหลังจากการพ่ายแพ้ของนโปเลียน
1860s รัสเซียเลิกทาส, คาร์ล มาร์กซ์เขียน "ทุนนิยม" เล่มแรกจบ
1914 การลอบสังหารอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
1945 การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ทิ้งยุโรปให้เสื่อมโทรม
1989 - 1992 การทลายกำแพงเบอร์ลิน, การลงนามในสนธิสัญญาสหภาพยุโรป หรือสนธิสัญญามาสทริคท์

ต้นกำเนิด

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

มนุษย์โฮโมอีเรคตัส (บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน) กับ มนุษย์นีแอนเดอร์ธอล (Neanderthals) อาศัยอยู่ในยุโรปมานานก่อนที่มีมนุษย์ปัจจุบัน (โฮโมเซเปียน หรือ Homo sapiens)
กระดูกของมนุษย์ยุคแรก ๆ ในยุโรปถูกพบที่เมือง Dmanisi ประเทศจอร์เจีย ซึ่งกระดูกเหล่านั้นคาดว่ามีอายุราว ๆ 2 ล้านปีก่อนคริสตกาล หลักฐานของมนุษย์ที่มีโครงสร้างสรีระคล้ายมนุษย์ปัจจุบันที่ปรากฏในยุโรปที่ เก่าที่สุดนั้นคือประมาณ 35,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่หลักฐานแสดงการตั้งรกรากถาวรนั้นแสดงอยู่ราว ๆ 7000 ปีก่อนคริสตกาลในประเทศบัลแกเรีย โรมาเนีย และ กรีซ
ยุโรปกลางเข้าสู่ยุคหินใหม่ (Neolithic) ในช่วงราว ๆ 6000 ปีก่อนคริสตกาลก่อนหลาย ๆ ที่ในยุโรปเหนือซึ่งเข้าสู่ยุคหินใหม่ในช่วงราว ๆ 5000 ถึง 4000 ปีก่อนคริสตกาล
ราว ๆ 2000 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มมีอารยธรรมที่มีความรู้ทางการอ่าน-เขียนในยุโรปคือ อารยธรรมของพวกมิโนน (Minoans) ที่เกาะcrete และตามด้วยพวกไมเซเนียน (Myceneans) (ทั้งสองอารยธรรมอยู่ราว ๆ บริเวณซึ่งเป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน)
ราว ๆ 400 ปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมลาทีเน่ (La Tène) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในยุคเหล็กได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วภาคพื้น พวกอีทรัสกัน (Etruscans) ได้เข้าไปตั้งรกรากในตอนกลางของอิตาลีและลอมบาดี (Lombady) ซึ่งอยู่ตอนเหนือของอิตาลีปัจจุบัน

สงครามโทรจัน

ดูบทความหลัก: สงครามเมืองทรอย
พวกกรีกที่ตั้งรกรากที่เมืองไมเซเน (Mycaenae) เริ่มมีอำนาจมากขึ้นบุกรุกขยายอาณาเขตไปยังอีกฟากหนึ่งของทะเลอีเจียน ยังเมืองของพวกโทรจัน ทรอยเป็น เมืองท่าที่เจริญอยู่ที่ปากทางเข้าทะเลดำที่ใครๆ ก็ต้องการเป็นเจ้าของ พวกไมเซเน่บุกไปยังทรอยแต่ก็ไม่น่าจะทำลายมันลง มีข้อสันนิษฐานว่ามันเป็นเพราะแผ่นดินไหวมากกว่า
มหากาพอีเลียด ว่ากันว่าเล่ากันมาโดยนักเล่าเรื่องแสดงปาหี่เร่ร่อนในยุคที่แค่เรื่อง ต้นไม้พูดได้ก็ทำให้ผู้คนตกใจกลัวกันได้แล้ว นักแสดงเหล่านี้ต้องสรรหาเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นมาทำให้ผู้ชมสนุกสนาน โฮเมอร์ ก็คงรวบรวมขึ้นมาเป็นเรื่องราวในอีกหลายร้อยปีให้หลัง

ยุคเก่า

สาธารณรัฐโรม

พวกโรมันมีกษัตริย์ปกครองกันเรื่อยมาหลังจากตำนานของ โรมูลุส (Romulus) กษัตริย์ลูกหมาป่าที่ก่อตั้งกรุงโรม จนมาถึงรุ่นของกษัตริย์ทาควิน (Tarquin the pround) เป็นองค์สุดท้าย ว่ากันว่าชาวโรมันไม่พอใจที่ทาควินสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายจนประชาชนเดือดร้อนทำให้มีตระกูลชั้นสูงพวกพาร์ทริเชียน (Partrician) ที่มีอำนาจในกรุงโรมนำโดยสกุล บรูตัส (Brutus) พากันขับไล่ไสส่งเขาออกมา
แต่กระนั้นก็ตามทาควินก็ไม่ลดละความพยายามที่จะทวงบัลลังค์ของเขากลับมา อ้างว่าสิ่งที่เขาทำไปนั้นก็เพื่อชาวโรมันนำกำลังของรัฐต่างถิ่นเข้ามาตี กรุงโรม แต่ก็ถูกชาวโรมันยันกลับไป
ตั้งแต่นั้นมาชาวโรมันก็ใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐปกครองโดยสภาซีเนตมาถึงสี่ร้อยปีจวบจนมาถึงยุคของจักรพรรดิออกัสตัส (Augustus) จักรพรรดิพระองค์แรกของอาณาจักรโรมัน

สงครามกรีก-เปอร์เซีย และสงครามเปโลโปนีเซีย

สงครามกรีก-เปอร์เซีย คือสงครามของพวกกรีกกับชาวเปอร์เซียที่บุกมาจากทางฝั่งอาหรับเข้ามาทางตอนเหนือ ประวัติศาสตร์ได้จดบันทึกวีรกรรมของชาวสปาร์ตา (Sparta) ที่ไปรบขวางพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนได้ด้วยกำลังคนไม่กี่พันที่ช่องเขา“เทอร์โมพีเล” (Thermopylae) นำโดยกษัตริย์“เลโอไนดาสที่ 1” (Leonidas I) หยุดพวกเปอร์เซียไว้ได้หลายวันก่อนที่จะถูกทำลาย ถ่วงเวลาให้ชาวกรีกมีเวลาตั้งตัวต่อกรกับชาวเปอร์เซียได้สำเร็จในภายหลัง
สงครามเปโลโปนีเซีย เป็นสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐของชาวเอเธนส์ (Athen) มหาอำนาจทางทะเลกับชาวสปาต้าร์ชนชาตินักรบหลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียได้ไม่นาน
ชาวสปาร์ตาไปขอความช่วยเหลือจากพวกเปอร์เซียให้ช่วยต่อเรือไปสู้กับชาวเอ เธนส์ ตัดเสบียงทางทะเลจนชาวเอเธนส์อดอยากต้องยอมแพ้ไปในที่สุด หลังจากสงครามครั้งนี้รัฐกรีกก็เริ่มทำสงครามกันเรื่อยมาทำให้เสื่อมอำนาจลง อย่างรวดเร็วจนการมาถึงของชาว มาซีดอน (Macedon)

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ในขณะที่รัฐของกรีกแตกกระจายเป็นก๊ก ๆ ชาวมาซีดอนทางตอนเหนือก็เรืองอำนาจขึ้นมา ฟิลลิปป์ (Phillip) เป็นผู้ที่เริ่มสร้างฐานอำนาจนำกองทัพบุกรัฐกรีกขึ้นเป็นผู้นำสมาพันธ์กรีกกุมอำนาจไว้ในมือ
หลังจากสงครามกับพวกเปอร์เซียชาวกรีกก็ยังแค้นไม่หาย พยายามอย่างยิ่งที่จะบุกเข้าไปบ้าง ฟิลลิปป์สร้างกองทัพของเขาบ้างหลังจากที่รวมกรีกไว้ได้ แต่ก็มาถูกสังหารเสียก่อน คราวนี้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the great) ลูกชายเพียงคนเดียวก็ขึ้นมาครองอำนาจแทน นำทัพสู้กับชาวเปอร์เซียบุกลงไปถึง “อียิปต์" จนชาวเปอร์เซียที่เคยรุ่งเรืองมากที่สุดอาณาจักรหนึ่งต้องมาเสื่อมอำนาจลงไป
อเล็กซานเดอร์ยังไม่พอใจกับชัยชนะเพียงแค่นี้เขายังนำกองทัพบุกไปถึง อินเดีย แต่ก็ไปต่อไม่ไหวเนื่องจากห่าฝน[ฝนตกหนัก]ที่ตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาของ ดินแดนเขตร้อน ทหารก็เหนื่อยอ่อนจากการทำศึกหนักอย่างยาวนาน และคิดถึงบ้าน จนจอมทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยังต้องจำใจเดินทางกลับบ้านเกิดเสียที เขาล่องเรือทางแม่น้ำสินธุมาถึงบาบิโลน (ระหว่างแม่น้ำไทกรีส และแม่น้ำยูเฟรติส ในปัจจุบัน) และตั้งเมืองหลวงที่นั่น
อเล็กซานเดอร์กลับบ้านไปได้ไม่ทันไรก็มาด่วนตายตอนอายุสามสิบสามปี นักประวัติศาสตร์บันทึกสาเหตุว่าเป็นเพราะการดื่มเหล้าอย่างหนักในงานเลี้ยง ครั้งหนึ่งจนร่างกายของเขารับไม่ไหว แต่บางคนก็แย้งว่าเขาถูกวางยาพิษ จากนั้นอาณาจักรของเขาได้ถูกแย่งกันในหมู่แม่ทัพของกรีก คือ แคสแซนเดอร์ ไลซิมคัส เซลิวคัส และ ปโตเลมี

สงครามปุนิค

ชาวคาเทจสืบเชื้อสายมาจากชาวโพนีเชียนที่เคยรุ่งเรืองด้วยการค้าในทะเล เมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณ เป็นอาณานิคมท่าเรือทางชายฝั่งของแอฟริกา เริ่มทำสงครามกับพวกโรมันที่เกาะซิซิลี (Sicily) ทางตอนใต้ของอิตาลีเป็นเวลายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ
สงครามพิวนิกมาสิ้นสุดลงในสมัยของจอมทัพ ฮันนิบาล (Hannibal) ที่นำกำลังบุกอิตาลีจากทางสเปนโดยข้ามเทือกเขาแอลป์เข้าไปยังตอนกลางของอิตาลีและยึดเมือง คาร์ปัวน์ (Capua) ที่สำคัญของโรมันเอาไว้ได้ แต่ฮันนิบาลก็ไม่สามารถรักษาสถานะภาพของเขาที่ประเทศอิตาลี(Italy)ได้ตลอด ลอดฝั่ง เนื่องจากการที่กองทัพเรือของคาเทจ(Carthage)ได้ถูกทำลายลงไปทำให้ไม่มีกำลังสนับสนุนจากกรุงคาเทจเข้ามาเลยจนต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด
พวกโรมันนำโดยขุนศึกตระกูล สซิพิไอ (Scipii) เริ่มตีโต้กลับจากสเปนไล่ไปจนถึงที่แอฟริกา สงครามชี้ขาดเกิดขึ้นที่ทางตอนใต้ของกรุงคาเทจ สซิพิโอนำกองทัพกำลังของเขาฆ่าทัพของฮันนิบาลจนทำให้พวกคาเทจไม่สามารถมารบ ได้อีกเลยแล้วแอฟริกาก็ตกไปอยู่ในมือของพวกโรมัน ในที่สุด

สปาร์ตาคัส

สงครามในต่างแดนทำให้พวกโรมันมีทาสเข้ามาทำงานในอิตาลีมากมาย สปาร์ตาคัส เป็นทาสชาว ธเรส (Thrace) ที่เข้ามาเป็นแกลดิเอเตอร์แล้วก่อกบฏขึ้นมาที่เมืองคาร์ปัวน์ เป็นผู้นำรวบรวมกบฏทาสจากชนชาติต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก บุกขึ้นไปทางเหนือเอาชนะกองทัพโรมันไปตลอดทางจนถึงดินแดนกอล
แต่ก็วกกลับเข้ามาอีกครั้งจากความโลภของพวกเขา คราวนี้ชาวโรมันไม่พลาดท่าอีกแล้วส่ง คราสซุส กงสุลที่จะต้องมาทัดทานอำนาจกับซีซาร์ในช่วงก่อนสงครามกลางเมือง นำทัพมาปราบพวกทาสได้อย่างราบคาบ แล้วคราสซุสก็สั่งให้สปาร์ตาคัสต่อสู้กับเพื่อนเขาจนตายถ้าใครชนะก็ต้องถูก จับถอดเสื้อแล้วนำไปตรึงกับไม้กางเขนแต่สปาร์ตาคัสด้วยความไม่อยากให้เพื่อน ถูกตรึงบนไม้กางเขนเขาจึงต้องฆ่าเพื่อนเพื่อไม่ให้เพื่อนต้องทรมานอยู่บนไม้ กางเขนแล้วเมือถึงรุ่งเช้าวันต่อมาสปาร์ตาคัสก็ถูกจับถอดเสื้อแล้วตรึงกางเข นอย่างเหียมโหดมากพวกทาสถูกจับถอดเสื้อเพื่อเป็นการประจานสปาร์ตาคัสแล้วจับ ตรึงไม้กางเขนไปตลอดทางยาวของถนนจากกรุงคาร์ปัวน์ไปยังโรม เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป

ซีซาร์ ออกัสตัส

ตระกูล “จูลิอาย” (Julii) เป็นหนึ่งในพวกพาร์ทิเชียนของโรมมีบทบาทในการเมืองของโรมมานาน จูเลียส ซีซาร์เป็น ลูกหลานของตระกูลที่จะเปลี่ยนแปลงโรม ซีซาร์สร้างชื่อจากการนำทัพของโรมบุกไปยังดินแดนกอลในประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบัน ชาวโรมมันกลัวพวกคนที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มานานมากแล้ว เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยถูกพวกคนเถื่อนบุกเข้าไปในถึงกรุงโรมปล้นสดมได้ไป เป็นอันมาก
ประชาชนเริ่มนิยมในตัวซีซาร์จนทำให้สภาสูง (Senate) เกิดระแวงขึ้นมาวางแผนที่จะกำจัดเขา ซีซาร์ใช้ข้ออ้างนี้ในการก่อสงครามกลางเมืองกับ “ปอมเปย์” (Pompey) กงสุลจอมทัพที่เคยออกรบกับพวก “พอนติก” (Pontic) แต่ก็ไม่มีใครต้านเขาได้ ซีซาร์นำทัพเข้ากรุงโรมและสามารถไปรับหัวของปอมปีย์ได้ที่อียิปต์ แถมยังได้ราชินีโฉมงามพระนางคลีโอพัตรา กลับมาอีกด้วย แต่เขาก็ไม่ยอมขึ้นเป็นจักรพรรดิจนกระทั่งถูกสถาสูงรุมสังหาร
“ออกุสตุส ซีซาร์” ลูกบุญธรรมขึ้นมาสืบทอดอำนาจต่อจากเขา แล้วก็เกิดสงครามกลางเมืองกันอีกครั้งกับ “มาร์ค แอนโทนี” (Mark Antony) นายทัพของซีซาร์ในสงครามกับพวกกอล อ๊อคเตเวียนรุกไล่มาร์คแอนโทนีไปถึงอียิปต์ ที่ซึ่งเขากับพระนางคลีโอพัตราได้ฆ่าตัวตายเป็นเหตุการณ์ที่เช็คสเปียร์นำมา แต่งเป็นบทละคร
เมื่อชนะสงคราม อ๊อคเตเวียนก็ตั้งตนขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของอาณาจักรโรมัน ใช้ชื่อว่าจักรพรรดิ “ออกัสตัส”

กรุงคอนสแตนติโนเปิล

โรมในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินมีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วนตะวันออกกับตะวันตก แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออกที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรมร่วมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวัน ออก เขาจึงย้ายเมืองหลวงไปที่ คอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งก็ตั้งตามชื่อของเขาเอง ซึ่งเดิมชื่อ ไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ (Byzantium)
ในช่วงวาระสุดท้ายคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง มีเรื่องเล่าว่าครั้งที่คอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงคราม กลางเมืองเขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์ (ชึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) เขาทำให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาของจักรวรรดิ ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือ

การล่มสลายของกรุงโรม

พวกคนเถื่อนทางตอนเหนือของยุโรปก้าวร้าวบุกรุกอาณาจักรโรมันกันเป็นว่า เล่น หนึ่งในนั้นมี “แอตติลา” (Attila) ผู้นำของคนเถื่อนที่เป็นตำนาน รวบรวมเหล่าคนเถื่อนมาไว้ด้วยกันนำกำลังบุกเข้าไปในอาณาจักร โรมันแต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะบุกเข้าไปถึงกรุงโรมได้ถูกพวกโรมันหยุด ยั้งไว้ได้ก่อน แล้วก็มาด่วนตายไป
แต่การกระทำของแอตติลาก็ส่งผลให้พวกคนเถื่อนบุกเข้าไปในอาณาจักรโรมัน จนในที่สุดกรุงโรมก็ถูกตีแตกโดยพวกเยอรมัน เป็นการสิ้นสุดอิทธิพลของพวกโรมันในยุโรปตะวันตก คงเหลือแต่พวกโรมันที่กรุงคอนสแตนติโนเบิลเท่านั้นที่ยังคงแผ่อิทฺธิพลออกไป

ยุคกลางและยุคมืด

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจ

กรุงโรมล่มสลายพร้อมกับการก้าวขึ้นมาของคนเถื่อนทางเหนือ พวกแฟรงค์ (Frank) คนเถื่อนทางประเทศฝรั่งเศสก้าวขึ้นมาเป็นใหญ่โดยการนำของ “พระเจ้าชาร์เลอมาญ” เมื่อรวบรวมดินแดนทางยุโรปตะวันตกไว้ได้มากมายแล้ว ชาเลอร์มาญก็ไปทำสัญญากับพระสันตะปาปาขึ้นเป็นจักรพรรดิของอาณาจักรโรมัน ตะวันตก ตั้งอาณาจักรโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่จากที่เคยล่มสลายลงไป ภายใต้ชื่อ "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)" ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เป็นอิสระจากอิทธิพลของอาณาจักรโรมันตะวันออก

สงครามครูเสด

ดูบทความหลักที่ สงครามครูเสด
พระสันตะปาปาเรียกร้องให้ชาวคริสต์ทุกคนนำกำลังไปช่วยเหลือจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่กำลังถูกพวกอาหรับกลืนกิน กองทัพของผู้ศรัทธานำกำลังบุกเข้าไปถึงกรุง เยรูซาเลม ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ในพระคำภีร์ฉบับเก่าของโมเสสที่ถูกชาวอาหรับครอบครอง
กองทัพครูเสดยึดดินแดนได้แถบริมฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วตั้งเป็นประเทศ อยู่มาจนการมาถึงของ ซาลาดิน (Saladin) สุลต่านอาหรับที่สามารถบุกยึดกรุงเยรูซาเลมจากพวกครูเสดได้ ตั้งแต่นั้นมานักรบครูเสดที่ถูกส่งมาอีกหลาย ๆ ครั้งก็ไม่สามารถที่จะยึดคืนกรุงเยรูซาเลมกลับมาได้อีกเลย

สงครามร้อยปี

ดูบทความหลักที่ สงครามร้อยปี
สงครามร้อยปีเป็นความขัดแย้งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส นาน 116 ปี นับจาก พ.ศ. 1880 ถึง พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1337 ถึง 1453) เริ่มจากการอ้างสิทธิ์ของกษัตริย์อังกฤษเหนือบัลลังก์ฝรั่งเศส คำที่นักประวัติศาสตร์ใช้นิยามสงครามความขัดแย้งแบ่งได้สามถึงสี่ช่วง คือ สงครามยุคเอ็ดเวิร์ด(Edwardian War 1337-1360) สงครามยุคแครอไลน์ (Caroline War 1369-1389) สงครามยุคแลงคาสเตอร์ (Lancastrian War 1415-1429)
อังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน ชาวนอร์มังดีบุกไปชิงราชบังลังก์ที่เกาะอังกฤษเพราะยังอยากที่จะได้ดินแดนของบรรพบุรุษกลับมาอีกครั้ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทำสงครามกันเรื่อยมา
ช่วงหลังของสงครามอังกฤษสามารถบุกเข้าไปยึดดินแดนของฝรั่งเศสได้จนเกือบจะสิ้นชาติ แต่ก็มีการมาถึงของหญิงสาว “ฌานดาร์ค” (โจนออฟอาร์ค) สาวชาวนาผู้ได้รับนิมิตจากพระเจ้าให้นำฝรั่งเศสไปสู่เอกราชจากพวกอังกฤษ แต่ไม่ทันที่จะจบสงครามโจนก็ถูกจับไปเผาในข้อหาว่าเป็นแม่มด แต่การกระทำของโจนก็ไม่เสียเปล่าพวกฝรั่งเศสขับไล่อังกฤษออกจากประเทศได้ สำเร็จ

การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล

หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม โรมันทางฝั่งตะวันออกก็ค่อยๆ ลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้ง เดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น “ไบแซนไทน์” (Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิลเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด
แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul)


ต้นสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 16 - 18)

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

พระเจ้าชาร์ลส์ทรงนำทัพเข้าบุกรัฐสภา เพื่อจับกุมขุนนางบางคน แต่ไม่สำเร็จ จึงทรงหลบหนีออกไปจากลอนดอนไปทางเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War) เมืองต่างๆในอังกฤษประกาศตนเข้าฝ่ายรัฐสภาหรือกษัตริย์ ทั้งสองฝ่ายต่อสู้ทำสงครามกัน ระหว่างฝ่ายกษัตริย์ (Royalist) และฝ่ายรัฐสภา (Parliamentarian) ในค.ศ. 1645 ฝ่ายรัฐสภาปรับปรุงกองทัพเป็น New Model Army พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพ่ายแพ้ยับเยิน จนทรงหนีไปสกอตแลนด์ในค.ศ. 1646 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเจรจากับพวกสก็อต แต่ก็ทรงถูกส่งพระองค์ให้พวกรัฐสภา ในค.ศ. 1648 ทัพสกอตจึงบุกอังกฤษ แต่ก็แพ้พวกรัฐสภา ถึงตอนนี้พวกรัฐสภาแบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่ยังต้องการให้พระเจ้าชาร์ลส์ครองราชย์ต่อกับฝ่ายที่จะล้มล้าง พระองค์ ในปีเดียวกัยนายพลไพรด์ (Colonel Pride) นำทัพยึดอำนาจจากพวกที่ผ่อนปรนพระเจ้าชาร์ลส์ กลายเป็น รัฐสภาที่เหลือ (Rump Parliament) ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์และตั้งเครือจักรภพอังกฤษ (Commonwealth of England) ทำให้พระเจ้าชาร์ลส์ทรงถูกสำเร็จโทษโดยการบั่นพระศอหน้าไวท์ฮอล์ ในค.ศ. 1649 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) นำกำลังเข้าปราบปรามกบฏไอร์แลนด์อย่างดุร้ายในค.ศ. 1649 ในสกอตแลนด์ พวกรักษาสัญญา(Covenanters ดูประวัติศาสตร์สกอตแลนด์) เกรงว่าอังกฤษจะเข้าควบคุมประเทศ จึงอัญเชิญพระโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ แห่งสกอตแลนด์ ทำให้โอลิเวอร์ครอมเวลล์ออกจากไอร์แลนด์มาทำศึกกับสกอตแลนด์ในค.ศ 1650 เรียกว่า สงครามสามอาณาจักร (War of the Three Kingdoms) พระเจ้าชาร์ลส์และพวกสกอตพ่ายแพ้และถอยหนี ครอมเวลล์จึงตามไปในสกอตแลนด์ แต่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงฉวยโอกาสนำทัพหลบหนีมาบุกอังกฤษในค.ศ. 1651 สมทบกับพวกสนับสนุนกษัตริย์ แต่ครอมเวลล์ก็ตามมาทันและตีทัพพระเจ้าชาร์ลส์พ่ายแพ้ไป ทำให้พระเจ้าชาร์ลส์ทรงหลบหนีไปฝรั่งเศส จบสงครามกลางเมือง

การปฏิวัติอเมริกา

หลังจากโคลัมบัสพบอเมริกาแล้วประกาศให้โลกรู้ ชาวยุโรปที่ สิ้นหวังก็พากันเดินทางมาขุดทองหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นในที่แห่งใหม่ อาณานิคมของอังกฤษทนไม่ได้ที่จะอยู่ในการปกครองอีกต่อไปจึงทำสงครามปลดแอก ตัวเองออกมา
จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เป็นผู้ได้รับการไว้วางใจและพาอเมริกาไปสู่เอกราชได้สำเร็จ แต่ก่อนนั้นเขาประสบความพ่ายแพ้หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็มาตีตื่นได้ในสงครามกลางฤดูหนาวที่ไม่มีใครทำ
ในที่สุดอเมริกาก็ได้การสนับสนุนจากฝรั่งเศสจนปลดแอกตัวเองออกมาได้ วอชิงตันกลายเป็นรัฐบุรุษและเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การล่มสลายของคุกบาสตีย์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติ
ฝรั่งเศสอยู่ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำข้าวยากหมากแพงคนจนอดอยาก แต่คนชั้นสูงก็ยังใช้ชีวิตอย่างหรูหราจากภาษีของประชาชน จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างกษัตริย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับ พระนางมารี อองตัวเนตถูกจับใส่กิโยตินประหารกลางฝูงชนเป็นยุคแห่งความหวาดกลัว
นโปเลียน นายทหารปืนใหญ่หนุ่มจากคอร์ซิกาเกาะทางใต้ของฝรั่งเศส รับช่วงในงานปฏิวัติจนมีชื่อเสียงโด่งดัง หลังจากยุคแห่งความหวาดกลัวสงบลงเขาถูกส่งไปเป็นนายพลที่อิตาลีเพื่อขยายอำนาจของฝรั่งเศส นโปเลียนไม่ทำให้ชาวฝรั่งเศสผิดหวังบุกยึดขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปทั่วยุโรป มีอำนาจจนตั้งตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ประเทศรอบข้างต่างพากันหวาดกลัวรวมตัวกันต้านทานอำนาจของเขา
และแล้วนโปเลียนก็พลาดท่า เมื่อบุกเข้าไปในรัสเซียกลางฤดูหนาว เมื่อไปถึงมอสโกกลับ พบว่าเมืองถูกเผาและทอดทิ้งไปเสียแล้ว นโปเลียนไม่มีทางเลือกต้องถอยทัพกลับสถานเดียว กองทัพฝรั่งเศสถูกโจมตีด้านหลังและอดอยากจนกองทัพแตกสลาย นโปเลียนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะเอลบา แต่ยังไม่สิ้นหวัง ประชาชนยังรักและเชื่อว่านโปเลียนสามารถทำให้ประเทศที่ตกต่ำจากการพ่าย สงครามกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกครั้ง นโปเลียนจึงนั่งเรือกลับฝรั่งเศส
ครั้งนี้ฝ่ายพันธมิตรไม่พลาดอีกแล้ว ไม่ยอมปล่อยให้นโปเลียนกลับขึ้นมามีอำนาจได้อีกพวกเขาจะส่งกำลังบุกฝรั่งเศส นโปเลียนต้องนำทัพไปรับที่วอเตอร์ลูและก็ต้องพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกที่นั่น เมื่อถูกเนรเทศอีกครั้งก็ไม่มีโอกาสกลับมาที่ฝรั่งเศสอีกเลย

คริสต์ศตวรรษที่ 19

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (อังกฤษ: industrial revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น รถยนต์ และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 : ศตวรรษแห่งสงคราม

ดูบทความหลักได้ที่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และ สงครามโลกครั้งที่สอง
หลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจในยุโรปเกิดขัดแย้งกันเองดังเห็นได้จากการพยายามแผ่อิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านของจักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมาน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี เมื่อมีศัตรูมากก็ย่อมต้องการมิตรมาก จึงมีการทำสัญญาพันธมิตรขึ้นเป็นสองกลุ่มคือ
  1. ฝ่ายพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
  2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง มี จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาพรรคพวก กล่าวโจมตีอีกฝ่าย
จนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระเบิดขึ้นใน พ.ศ. 2457 (ค.ศ.1914) ประเทศคู่สงครามมีฝ่ายพันธมิตร 23 ประเทศ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง 4 ประเทศ ช่วงต้นเยอรมนีบุกฝรั่งเศสตามแผนของชลีฟเฟน จนอยู่ห่างจากปารีสเพียง 10 ไมล์แต่ฝรั่งเศสก็หยุดเยอรมันได้ที่แม่น้ำมาร์น หลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างขุดสนามเพลาะยาวกว่า 600 ไมล์จากชายแดนสวิสเซอร์แลนด์ถึงทะเลเหนือเรียกว่า "สงครามสนามเพลาะ" ส่วนด้านตะวันออก จักรวรรดิรัสเซียพยายามเข้าตีเยอรมนีและออสเตรียแต่ก็พ่ายแพ้ ว่ากันว่ารัสเซียเป็นชาติที่สูญเสียมากที่สุด การรบอย่างนองเลือดยังดำเนินต่อไป การรบที่ซอมม์มีคนตายกว่า 1,300,000 ศพ การรบที่กัลลิโปลีฝ่ายพันธมิตรตาย 200,000 ศพ พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) สหรัฐอเมริการ่วมสงครามอยู่ฝ่ายพันธมิตร พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) เยอรมนีทำการบุกครั้งใหญ่ แต่ก็ถูกฝ่ายพันธมิตรโต้กลับจนเกือบถึงชายแดนเยอรมนี
เยอรมนีสูญเสียอย่างหนักสุดท้ายก็ยอมแพ้ สงครามมหาประลัยครั้งนี้จึงสิ้นสุดลง แต่หลังสงครามฝ่ายพันธมิตรร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย จนชาวเยอรมันประกาศจะจับปืนสู้ต่อไป แต่ผู้นำเยอรมันตอนนั้นได้ร่วมมือกับพวกยิวที่ต้องการให้เยอรมนีล่มยอมแพ้ไป แล้ว เมื่อเยอรมนีฟื้นตัวได้ก็พยายามเรียกร้องสิ่งที่ตนเสียไปอย่างไม่เป็นธรรม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกาศจะยึดโปแลนด์ที่เคยเป็นของเยอรมนีคืน สงครามโลกครั้งที่สอง ระเบิดขึ้น เยอรมนีเข้ายึดยุโรปภาคเหนือได้ในปีเดียว จนอิตาลีประกาศสนับสนุนฮิตเลอร์ แต่อังกฤษก็ยังสู้ต่อไป เยอรมนียึดอังกฤษไม่ได้จึงเปลี่ยนแผนไปบุกสหภาพโซเวียตก็ยังยึดไม่ได้อีก
เมื่อญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริการ่วมสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองก็ขยายวงกว้างไปทั่วโลก พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) เยอรมนีแพ้ในแอฟริกา อิตาลีประกาศยอมแพ้ พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ฝ่ายพันธมิตรร่วมมือกันบุกเยอรมนี ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย เยอรมนียอมแพ้ จากนั้นญี่ปุ่นยอมแพ้ ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) สงครามโลกครั้งที่สองจึงสิ้นสุดลง

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 : สงครามเย็น (Cold War)

ดูบทความหลักได้ที่ สงครามเย็น
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งกันเอง มีการแบ่งโลกออกเป็นสองค่ายคือค่ายเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ สงครามเย็นแม้ จะเรียกว่าสงครามแต่ก็เป็นเพียงสงครามที่ไม่มีการรบ มีเพียงสงครามตัวแทนเช่นสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ฯลฯ สงครามนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสะสมอาวุธร้ายแรง การใช้จิตวิทยาโจมตีอีกฝ่าย สงครามเย็นสิ้นสุดเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991)

สหภาพยุโรป

ดูบทความหลักที่ สหภาพยุโรป
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุโรปอยู่ในสภาพที่บอบช้ำและเสียหายอย่างหนักในทุกด้าน จึงทำให้มีผู้นำทางการเมืองเกิดแนวความคิดที่จะสร้างอนาคตที่มีสันติภาพ อย่างถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรองดองกันระหว่างสองรัฐที่เคยได้ทำสงครามที่สร้างความหายนะแก่ทวีปทั้ง ทวีป คือ ฝรั่งเศส กับเยอรมนี ซึ่งบุคคลที่ได้เสนอแนวคิดนี้ คือ นาย Jean Monnet (ชาวฝรั่งเศส) และถูกนำมาขยายผลโดยนาย Robert Schuman (รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส) โดยวิธีการของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจกันระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีให้ใกล้ ชิดกันจนกระทั่งทั้งสองประเทศจะไม่สามารถทำสงครามระหว่างกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายในระยะยาวที่จะสร้างความเป็นเอกภาพระหว่าง ประชาชนชาวยุโรป เพื่อมิให้มีการแตกแยกและนำไปสู่การทำสงครามระหว่างกันในอนาคตด้วย
แนวคิดดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้ง ”ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community)” ในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ.1951) โดยสนธิสัญญากรุงปารีส ซึ่งแรกเริ่มมีประเทศสมาชิก 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก และอิตาลี ทั้งนี้ เนื่องจากถ่านหินและเหล็กกล้าถือเป็นยุทธปัจจัย การจัดตั้งประชาคมเพื่อบริหารทรัพยากรดังกล่าวจึงเสมือนเป็นก้าวแรกที่จะทำ ให้สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งประชาคมขึ้นอีก 2 ด้าน คือ ด้านปรมาณู (Euratom) ในปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ.1954) และที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ (European Economic Community) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ.1957) โดยสันธิสัญญากรุงโรม
ทั้งสนธิสัญญากรุงปารีสและสนธิสัญญากรุงโรม ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของสหภาพยุโรปที่ยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นการวางรากฐานในการจัดตั้งสถาบันบริหารกิจการของประชาคม คือ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คณะมนตรี (Council) ศาลตุลาการยุโรป (European Court of Justice) และสภายุโรป (European Parliamentary Assembly ต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่า European Parliament) และยังวางรากฐานของการบริหารอธิปไตยร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกโดยผ่าน ”ประชาคม” อีกด้วย
ทั้งนี้ เป้าหมายที่สำคัญของการร่วมมือครั้งนี้ คือ การจัดตั้ง “ตลาดร่วม” ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ดำเนินการเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปโดยไร้ อุปสรรคอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากหมายถึงการยกเลิกด่านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ยังหมายถึงการประสานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าทั้งหมด อาทิ การรับรองมาตรฐานสินค้า ระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าจากต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้เสร็จสิ้นภายหลังโครงการ “Single Market Act” เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986) และสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) พัฒนาขั้นต่อไปที่สำคัญ คือ การลงนามในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of European Union) ลงนามที่เมืองมาสตริคต์ในปี 1992 (จึงมักเรียกสั้นๆ ว่า Maastricht Treaty) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของ “สหภาพยุโรป”ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สาระสำคัญของการจัดตั้งสหภาพยุโรป คือ นอกจากคงไว้ซึ่งโครงสร้างความร่วมมือเดิมภายใต้ประชาคมทั้งสามที่มีอยู่เดิม แล้ว ยังขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกไปอีกสองด้าน คือ (1) ความร่วมมือด้านการต่างประเทศและความมั่นคง กับ (2) ความร่วมมือด้านมหาดไทยและยุติธรรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากทั้งสองด้านดังกล่าว เป็นเรื่องที่บางรัฐสมาชิกมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านอธิปไตย จึงมิใช่ความร่วมมือในลักษณะ “ประชาคม” (หมายถึงการแบ่งอำนาจอธิปไตยมาบริหารร่วมกัน) แต่เป็นการร่วมมือและประสานนโยบายระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Cooperation) “สนธิสัญญามาสตริคต์” ถูกแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาสำคัญอีกสองฉบับ คือ สนธิสัญญากรุงอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) และสนธิสัญญาเมืองนีซ (Treaty of Nice) ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) ซึ่งขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือภายใต้นโยบายร่วมของสหภาพยุโรป (โดยเฉพาะในด้านมหาดไทยและยุติธรรม) พร้อมกับปรับปรุงสถาบันและแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนรัฐสมาชิกที่ เพิ่มขึ้นต่อไป
จากเดิมซึ่งมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ สหภาพยุโรป ได้รับรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยหลายครั้ง คือ ปีพ.ศ. 2516 (ค.ศ.1973) เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ปี 1981 กรีซ ปี 1986 สเปนและโปรตุเกส ปี 1995 ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน และล่าสุดปีพ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) ถือเป็นการขยายจำนวนสมาชิกครั้งใหญ่ที่สุดถึง 10 ประเทศ คือ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต้า โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก และสลีวีเนีย และเมื่อ ค.ศ.2007 รับเพิ่มอีก 2 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 27 ประเทศ สมาชิกใหม่คือ บัลแกเรีย และโรมาเนีย


 





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น